วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยที่ ๑ ประวัติเละความสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย
                                    
                       หลักของเหตุปัจจัย หรือหลักความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นหลักของเหตุปัจจัยที่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า "กฎปฏิจจสมุปบาท" ซึ่งมีสาระโดยย่อดังนี้"เมื่ออันนี้มี อันนี้จึงมี เมื่ออันนี้ไม่มี อันนี้ก็ไม่มี เพราะอันนี้เกิด อันนี้จึงเกิด เพราะอันนี้ดับ อันนี้จึงดับ"นี่เป็นหลักความจริงพื้นฐาน ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้ หรือในชีวิตประจำวันของเรา "ปัญหา"ที่เกิดขึ้นกับตัวเราจะเป็นปัญหาลอย ๆ ไม่ได้ จะต้องมีเหตุปัจจัยหลายเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาอ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๒ พุทธประวัติและชาดก
                                   
ชาดก  แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ชาดกจึงเป็นการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์
มโหสถชาดก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ  การบำเพ็ญปัญญาบารมี คือความรู้ทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้ มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้สามารถแนะนำในปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ ๓ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
                        
วันมาฆบูชา คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระศาสดาประชุมพระสาวก ณ พระวิหารเวฬุวัน ได้มีสันติบาตประกอบด้วย
องค์ 4 คือ

1. เป็นวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ
2. ภิกษุ 1,250 รูปมาประชุมกันโดยไม่มีใครนัดหมาย
3. ภิกษุทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา
4. ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๔ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
                                       
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
ความสำคัญของพระรัตนตรัย      พระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐของชาวพุทธแล้ว พระรัตนตรัยยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่สุดของชาวพุทธ ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธจะเกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัยอยู่เสมอ อ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๕ พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
                                         
ในการศึกษาพระไตรปิฏก จำเป็นต้องศึกษาคำศัพท์ทางพระพุทธศานาที่ปรากฏอยู่ในหลักธรรมต่างๆ ซึ่งควรรู้และทำความเข้าใจให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีพุทธศานสุภาษิตที่ดีและมีประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสุภาษิตเหล่านี้จะช่วยเตือนสติให้เราไม่หลงผิด ช่วยชี้แนะแนวทางที่ดีในการดำเนินชีวิต จึงสมควรอย่างยิ่งที่พุทธศาสนิกชนจะเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อนำไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
1. พุทธศานสุภาษิต
1.1 อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย : ชนะตนนั่นแหละดี
การชนะตน คือ การที่สามารถควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ควรทำ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สามารถบังคับตนให้ทำความดี ละเว้นความชั่วได้ การทำความดีทำได้ 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ อ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๖ การบริหารจิตและเจริญปัญญา
                      
การบริหารจิต หมายถึง 
  • การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามหรือสมบูรณ์เต็มที่ ได้แก่ การฝึกสมาธิ ทำให้จิตได้รับการบริหารดีและมีปัญญาที่ได้รับการฝึกอบรมให้เจริญต้องเป็นบุคคลที่ผ่านมาฝึกสมาธิครบถ้วน
ประโยชน์ของการฝึกบริหารจิตและการเจริญปัญญา คือ
  • การศึกษาเล่าเรียนนำไปพัฒนาจนเป็นความเจริญแก่ตนเองและสังคม
  • การทำงาน ทำให้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานและประสบความสำเร็จ
  • สุขภาพกาย และจิตดี ทำให้เยือกเย็น สุขุม อ่อนโยนอ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๗ พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง
ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา

2.1 พระอนุรุทธเถระ
          พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชฏฐา (พี่ชาย) พระนามว่า มหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี รวมเป็น ๓ กับอนุรุทธกุมาร ถ้าจะนับตามลำดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา อนุรุทธกุมารเป็นกษัตริย์สุมุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลังเป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ศฤงคาร* อ่านเพิ่มเติม