วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยที่ ๑ ประวัติเละความสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย
                                    
                       หลักของเหตุปัจจัย หรือหลักความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นหลักของเหตุปัจจัยที่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า "กฎปฏิจจสมุปบาท" ซึ่งมีสาระโดยย่อดังนี้"เมื่ออันนี้มี อันนี้จึงมี เมื่ออันนี้ไม่มี อันนี้ก็ไม่มี เพราะอันนี้เกิด อันนี้จึงเกิด เพราะอันนี้ดับ อันนี้จึงดับ"นี่เป็นหลักความจริงพื้นฐาน ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้ หรือในชีวิตประจำวันของเรา "ปัญหา"ที่เกิดขึ้นกับตัวเราจะเป็นปัญหาลอย ๆ ไม่ได้ จะต้องมีเหตุปัจจัยหลายเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาอ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๒ พุทธประวัติและชาดก
                                   
ชาดก  แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ชาดกจึงเป็นการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์
มโหสถชาดก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ  การบำเพ็ญปัญญาบารมี คือความรู้ทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้ มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้สามารถแนะนำในปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ ๓ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
                        
วันมาฆบูชา คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระศาสดาประชุมพระสาวก ณ พระวิหารเวฬุวัน ได้มีสันติบาตประกอบด้วย
องค์ 4 คือ

1. เป็นวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ
2. ภิกษุ 1,250 รูปมาประชุมกันโดยไม่มีใครนัดหมาย
3. ภิกษุทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา
4. ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๔ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
                                       
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
ความสำคัญของพระรัตนตรัย      พระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐของชาวพุทธแล้ว พระรัตนตรัยยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่สุดของชาวพุทธ ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธจะเกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัยอยู่เสมอ อ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๕ พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
                                         
ในการศึกษาพระไตรปิฏก จำเป็นต้องศึกษาคำศัพท์ทางพระพุทธศานาที่ปรากฏอยู่ในหลักธรรมต่างๆ ซึ่งควรรู้และทำความเข้าใจให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีพุทธศานสุภาษิตที่ดีและมีประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสุภาษิตเหล่านี้จะช่วยเตือนสติให้เราไม่หลงผิด ช่วยชี้แนะแนวทางที่ดีในการดำเนินชีวิต จึงสมควรอย่างยิ่งที่พุทธศาสนิกชนจะเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อนำไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
1. พุทธศานสุภาษิต
1.1 อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย : ชนะตนนั่นแหละดี
การชนะตน คือ การที่สามารถควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ควรทำ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สามารถบังคับตนให้ทำความดี ละเว้นความชั่วได้ การทำความดีทำได้ 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ อ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๖ การบริหารจิตและเจริญปัญญา
                      
การบริหารจิต หมายถึง 
  • การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามหรือสมบูรณ์เต็มที่ ได้แก่ การฝึกสมาธิ ทำให้จิตได้รับการบริหารดีและมีปัญญาที่ได้รับการฝึกอบรมให้เจริญต้องเป็นบุคคลที่ผ่านมาฝึกสมาธิครบถ้วน
ประโยชน์ของการฝึกบริหารจิตและการเจริญปัญญา คือ
  • การศึกษาเล่าเรียนนำไปพัฒนาจนเป็นความเจริญแก่ตนเองและสังคม
  • การทำงาน ทำให้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานและประสบความสำเร็จ
  • สุขภาพกาย และจิตดี ทำให้เยือกเย็น สุขุม อ่อนโยนอ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๗ พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง
ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา

2.1 พระอนุรุทธเถระ
          พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชฏฐา (พี่ชาย) พระนามว่า มหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี รวมเป็น ๓ กับอนุรุทธกุมาร ถ้าจะนับตามลำดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา อนุรุทธกุมารเป็นกษัตริย์สุมุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลังเป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ศฤงคาร* อ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๘ หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ
ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
          1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร
          พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี ประเภท คือ
1. พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัดอ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ ๙ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

1.1 ความหมายของศาสนา

คำว่า ศาสนาŽ นักปราชญ์ได้นิยามความหมายของศาสนาไว้แตกต่างกันอยู่มาก จึงขอนำเสนอความหมายที่ควรทราบ ดังนี้

1.1.1 ความหมายตามรูปศัพท์เดิม

1.1.1 ความหมายตามรูปศัพท์เดิม1) ในภาษาสันสกฤต คือ ศาสนํ และตรงกับในภาษาบาลีว่า สาสนํ แปลว่า คำสั่งสอน คำสอน หรือการปกครอง ซึ่งมีความหมายเป็นลำดับ ได้แก่
1) คำสั่งสอน แยกได้เป็น คำสั่ง หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว เรียกว่า ศีล หรือ วินัย คำสอน หมายถึง คำแนะนำให้ทำความดี ที่เรียกว่า ธรรม เมื่อรวมคำสั่งและคำสอน จึงหมายถึง ศีลธรรม หรือศีลกับธรรม นั่นคือมีทั้งข้อห้ามทำความชั่ว และแนะนำให้ทำความดี ซึ่งคำสั่งสอนต้องมีองค์ประกอบ คือ
  • 1. กล่าวถึงความเชื่อในอำนาจของสิ่งที่มิอาจมองเห็นได้ด้วยตา เช่น
    • ก. ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ เชื่อในอำนาจแห่งพระเจ้า
    • ข. ศาสนาพุทธ เชื่ออำนาจแห่งกรรม
    • ค. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่ออำนาจแห่งเทพเจ้า
  • 2. มีหลักศีลธรรม เช่น สอนให้ละความชั่ว สร้างความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เป็นต้น
  • 3. มีจุดหมายสูงสุดในชีวิต เช่น นิพพานในศาสนาพุทธ ชีวิตนิรันดรในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม
  • 4. มีพิธีกรรม เช่น
    • ก. พิธีบรรพชาและพิธีอุปสมบท ในศาสนาพุทธ
    • ข. พิธีรับศีลล้างบาป ศีลมหาสนิทและศีลพลัง ในศาสนาคริสต์
    • ค. พิธีละหมาด พิธีเคารพพระเจ้า ในศาสนาอิสลาม

หน่วยที่ ๑๐ ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
     
                              

         แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี  ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ  ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
   สำหรับศาสนาสำคัญในประเทศไทยได้แก่  ศาสนาอิสลาม  ศาสนาคริสต์  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  และศาสนาสิกข์  ในที่นี้จะยกตัวอย่างแค่า  ๒  ศาสนา คือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาสิกข์
๑  ศาสนาอิสลาม
   ศาสนาอิสลาม  เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม  คือ  นับถือพระเป็นเจ้าองค์เดียว  ได้แก่  อัลลอฮ์  โดยมี  มุฮัมมัด  เป็นศาสดาและผู้ประกาศศาสนา  ศาสนาอิสลามไม่มีพระหรือนักบวชเพื่อทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนาอ่านเพิ่มเติม